เหตุไหนสมควรต้องมีบริษัท รับประกันตัวผู้ต้องหา หรือรับจ้างกันด้วยนะ

เมื่อได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นทางกฎหมาย หรือถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามฐานความผิดอาญา (โดยในการดำเนินคดีอาญาตามป.วิอาญา มาตรา28 โดยผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล หรือโดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องซึ่งต้องมีการร้องทุกข์ ของผู้เสียหายตามมาตรา 2(4)มาก่อน) ถ้าหากว่า ทางระเบียบนั้นต้องมีการประกันตัวผู้ต้องหาโดยใช้ หลักทรัพย์ อัตราต่างๆ ตามความร้ายแรงแห่งข้อหา ยกตัวอย่างข้อหา เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ต่อไปนี้

ตัวอย่างข้อหาอาญาที่ ประกันตัวผู้ต้องหา

# ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตัวอย่างข้อหาได้แก่ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา(ป.อาญา มาตรา276) , ความผิดฐานกระทำอนาจาร(ป.อาญา มาตรา278) , ความผิดฐานพรากผู้เยาว์
      # ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ตัวอย่างข้อหาที่ต้อง ประกันตัวผู้ต้องหา โดย บริษัท ได้แก่ ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม , ความผิดฐานแจ้งความเท็จทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
      # ความผิดเกี่ยวกับก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตัวอย่างข้อหาที่ต้องรับจ้าง ประกันตัว ได้แก่ ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น(แค่ในขั้นเตรียมการก็มีความผิดแล้ว) , ความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
      # ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตัวอย่างข้อหาที่ต้อง ประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ความผิดฐานปลอมอกสาร , ความผิดฐานทำลายเอกสารพินัยกรรมของผู้อื่น เป็นต้น
      # ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตัวอย่างข้อหาที่ต้องรับประกันตัว ได้แก่ ความผิดฐานซ่องโจร(ป.อาญา มาตรา211) , ความผิดฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไปก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
      # ความผิดเกี่ยวชีวิตร่างกาย ตัวอย่างข้อหาที่ต้อง ประกัน ได้แก่ ความผิดฐานฆ่าคนอื่นโดยเจตนา(ป.อาญา มาตรา288) , ความผิดฐานกระทำโดยประมาทมีผู้ถึงแก่ความตาย(ป.อาญา มาตรา291) , ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนถึงแก่บาดเจ็บสาหัส(ป.อาญา มาตรา297)

 

ต่างๆหล่านี้ เมื่อ ผู้ต้องหาถูกแจ้งข้อหาจากนั้นก็ต้องทำการ รับจ้างประกันตัว โดย บริษัท (หรือเรียกว่าการขอปล่อยตัวชั่วคราว) โดยกำหนดวงเงินประกันตัวผู้ต้องหา ในแต่ละคดีแตกต่างกันออกไป เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น(ป.อาญา มาตรา288) กำหนดราคาประกัน 400,000 บาท , แต่ถ้าเป็นในขั้นพยายามกระทำความผิด(ป.อาญา มาตรา288+80) ราคาหลักประกัน ประมาณ 200,000 บาท หรือเป็นการกระทำการโดยพลาด ป.อาญา 60+288 เป็นต้น บางครั้งอาจถูกตั้งข้อหาหลายข้อหาก็ได้(กระทำความผิดครั้งเดียวหรือกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ศาลลงโทษบทหนักที่สุด) แล้วแต่ความรุนแรงของการกระทำความผิด ดังนั้นมีความจำเป็นในการใช้หลักประกัน ซึ่งมีมูลค่ามากขึ้นในการที่บริษัทประกันตัวให้กับตัวท่าน

 

ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่กำหนดราคาหลักทรัพย์ ที่ต้องใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหาสมมุติว่าเป็นเงินสด 400,000 บาท(แต่ถ้าเป็นหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดินอาจจะมากกว่า 4 แสนบาท ขึ้นอยู่ว่าจะใช้เท่าไหร่ต้องสอบถามโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบ) แต่เมื่อทางผู้ต้องหาไม่สามารถหาเงินสดได้หรือมูลค่าหลักทรัพย์ ของตนเองนั้นไม่เพียงพอหรือไม่มีหลักทรัพย์ของตนเอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการ หาหลักทรัพย์มาประกันผู้ต้องหา โดยสามารถติดต่อได้ที่ นายประกัน เป็นคนที่ทำงานทางด้านนี้โดยตรง สอบถามเงื่อนไขในการทำงานต่างๆให้ชัดเจนด้วย จะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันภายหลัง

 

เราประกันผู้ต้องหา ในตอนไหนบ้าง

การรับจ้างประกันตัว นั้นมีการประกัน ได้สองช่วงคือ

  1. การรับประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวน (เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหา หรือผู้ถูกจับได้แค่ 48 ชั่วโมง)
  2. การประกันตัวในชั้นศาล ( กรณีอัยการฟ้อง=>ประกันตัวตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา //กรณีโจทก์ฟ้องตรงต่อศาลเมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและคดีมีมูล ประกันในวันนัดสอบคำให้การหรือก่อนวันนัดสอบการให้การ )
  3. โดยที่จะประกันในชั้นใดนั้น ต้องแล้วแต่ระเบียบราชการของศาลกำหนดไว้ เช่น คดียาเสพติดต้อง ประกันในชั้นศาลเท่านั้น ไม่สามารถประกันในชั้นพนักงานสอบสวนได้ แต่ในบางคดี เช่น คดีเช็ค สามารถประกันตัวได้ ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวนและชั้นศาล ทั้งนี้ต้องวิเคราะห์ว่าประกันตัวอย่างไหนจะเหมาะสมกว่ากัน(คดีเช็คเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เป็นคดีอาญาที่สามารถยอมความกันได้ หากแม้นว่าคู่กรณีตกลงและมีการใช้เงินตามมูลค่าความเสียหายกันเรียบร้อย โดยสามารถตกลงกันกับคู่ความได้ตลอด ก่อนคดีถึงที่สุด)

 

ประกันผู้ต้องหา ชั้นพนักงานสอบสวน

เป็นการประกันตั้งแต่ท่านถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมมา(ตามหมายจับ โดยเหตุออกหมายจับ (ป.วิ.อาญา มาตรา66) จนกระทั่งถึงขั้นตอนที่ตำรวจส่งสำนวนไปยังอัยการ เพื่อเตรียมส่งฟ้องศาลต่อไป ส่วนกรณีที่ท่านมาตามหมายเรียกหรือมอบตัว ไม่ต้องมีการประกันตัว ในชั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจนี้ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถทำการส่งศาลเพื่อฝากขังได้

การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายเรียกท่านควรจะมาตามหมายเรียกนั้น เพราะถ้าการออกหมายเรียกครั้งที่ 2 แล้วท่านไม่มาตามนัดหมายเรียกครี่งที่2 ตำรวจก็จะออกหมายจับ ทีนี้เรื่องราวการประกันผู้ต้องหา มันจะยุ่งมากขึ้นแล้ว

 

ประกันในชั้นศาล

เป็นการประกันในขั้นตอน เมื่อศาลรับประทับฟ้องจากอัยการ(ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำสำนวนมาส่งที่อัยการก่อน-กรณีผู้เสียหายมาร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนให้อัยการ) เพื่อให้อัยการพิจาณาว่าจะส่งฟ้องหรือไม่ส่งฟ้องศาลต่อไป การประกันในชั้นศาล ยังแบ่งออกเป็น ประกันในศาลชั้นต้น ประกันในศาลอุธรณ์ และประกันในศาลฏีกา ทุกขั้นตอนท่านสามารถประกันตัวออกมาได้ ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของศาล เช่น การนัดสืบพยานโจทก์ การนัดสืบพยานจำเลย การนัดพร้อม จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตัดสินในคดีความผิดนั้น ๆ เมื่อศาลตัดสินคดีให้กับ ผู้ต้องหาแล้วการ ประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันสิ้นสุดลง ถ้าท่านไม่พอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นท่านต้อง ประกันตัวผู้ต้องหาต่อ และสู้คดีในศาลขั้นถัดไปคือศาลอุธรณ์ (ประกันเท่าไหร่ให้สอบถามศาลอีกครั้ง)

สำหรับคดีอาญาอันยอมความได้ ยกตัวอย่างเช่น คดียักยอก คดีเช็ค จำเลยสามารถบรรเทาความเสียหายจนเป็นที่พอใจให้แก่โจทก์ คุยกันรู้เรื่องโจทก์สามารถถอนฟ้องได้ อันนี้ก็เป็นผลดีต่อตัวความทั้งสอง คดีจบเร็วโจทก์ได้รับบรรเทาความเสียหายเร็ว จำเลยก็มีเวลาไปทำมาหากิน แต่ประเด็นคือจำเลยมีความจริงใจแก้ปัญหาให้กับโจทก์หรือเปล่า

จำเลยบางคนประกันตัวมาไปศาลก็ไปตามนัด แต่พอถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษา จำเลยก็ไม่มาตามนัด จึงต้องออกหมายจับจำเลยต่อไป แบบนี้ถือว่าจำเลยไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาซึ่งตนเองเป็นผู้ก่อขึ้นมา

 

สัญญาประกันตัว จะจบเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ ??

หลังจากประกันเสร็จแล้ว ขั้นตอนการดำเนินการของศาลจะเสร็จเร็วหรือช้า ขึ้นกับว่าผู้ต้องหารับสารภาพ หรือปฏิเสธ ถ้ารับสารภาพ ศาลท่านจะพิพากษาติดสินคดีเลย(เฉพาะคดีที่โทษไม่หนักนะ) แต่หากปฏิเสธจะต้องมีกระบวนการสืบพยานโจทก์และจำเลยอีก ดังที่กล่าวมาอันมีผลให้ระยะเวลาที่ใช้ประกันเนิ่นนานออกไป สำหรับตัวผู้ต้องหาเอง จะรับหรือปฏิเสธในข้อหานั้น ปรึกษาทนายความก่อนเพราะแต่ละคดีรูปการณ์ไม่เหมือนกัน สู้ไปก็มีแต่จะแพ้สำหรับในบางกรณีซึ่งจะเป็นผลเสียมากกว่า แต่บางคดีผู้ต้องหานั้นมิได้กระทำความผิดหรือมั่นใจตัวเองว่าไม่ได้กระทำความผิด ก็มีความจำเป็นที่จะต้องสู้คดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลยเอง หรือบางกรณีกระทำความผิดไม่ใช่ทั้งหมดตามที่เขาแจ้งข้อกล่าวหามา แบบนี้เราก็สามารถปฏิเสธได้ในบางส่วนตามความจริง

 

คดีแพ่งไม่ต้องประกันตัวนะ

บางคนยังไม่รู้คดีแพ่งไม่มีการประกันตัวนะ บอกเอาไว้ก่อนจะได้ไม่ถูกคนอื่นหรอกกินเอาง่ายๆ คดีแพ่งไม่มีโทษจำคุก ส่วนมากคดีแพ่งเป็นการบังคับเอากับตัวทรัพย์หรือบังคับให้กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่มีขั้นตอนใดในคดีแพ่งที่จะต้องประกันตัว การตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีแพ่งหรือคดีอาญามันต่างกัน

 

สำหรับในเรื่องกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของแต่ละฝ่ายที่มีพยานหลักฐานเอามาใช้ในการพิสูจน์ตัวเองในชั้นสืบพยาน กฎหมายเป็นเรื่องของเหตุและผล ว่ากันด้วยพยานหลักฐาน มิใช่ว่ากันด้วยอารมณ์ นี่แหละการประกันตัวจำเลย หรือการรับประกันตัวผู้ต้องหา
>>> ปรึกษาทนาย nitilaw.com