ผู้จัดการมรดกคือใคร??
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องทำการยื่นคำร้องต่อศาล ณภูมิลำเนา ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย (ก็คือทะเบียนบ้าน ของเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย)
แต่งตั้งผู้จัดการมรดก
รายการร้องตั้งผู้จัดการมรดกนี้ ต้องระบุเหตุขัดข้องด้วยว่าเพราะเหตุใดจึงต้องตั้งผู้จัดการมรดก เช่น ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินจากชื่อของผู้ตาย เจ้าของมรดก มาเป็นชื่อบรรดาทายาทได้ หรือไม่สามารถเบิกเงินในบัญชีของเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้
เมื่อเราทำการร้องขอต่อศาล ตั้งผู้จัดการมรดกและเมื่อศาลมีคำสั่ง เช่นให้นาย กไก่ เป็นผู้จัดการมรดกของนายตาย ผู้ตาย ซึ่งผู้จัดการฯ ก็ต้องมีหน้าที่ที่ต้องทำการ ทำบัญชีทรัพย์สินของเจ้ามรดกผู้ตายให้เสร็จสิ้น
หากผู้จัดการมรดกไม่ทำหน้าที่ ก็อาจจะถูกถอนออกจากเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้อื่นเข้ามาแทนก็ได้ โดยหลักการตามเดิมคือมีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง กับทรัพย์สินในกองมรดกนี้
ส่วนผู้จัดการมรดกตามจริงแล้วเป็นใครก็ได้ ที่สามารถมากระทำการในตรงนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทโดยธรรม
การจัดการมรดกเป็นเรื่องใหญ่
เนื่องจากต้องมีการจัดการมรดกเพื่อให้ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แล้วอย่าลืมด้วยว่ามีทายาทโดยพินัยกรรมด้วย ซึ่งเจ้าของมรดกแบ่งไว้โดยเขียนพินัยกรรมให้ไว้ โดยหลักทั่วไปมรดกตกทอดแก่ทายาททางพินัยกรรมก่อน ส่วนที่เหลือ จึงนำมาวิเคราะห์ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ ถ้าหากเป็นสินสมรส เนื่องจากเจ้ามรดกผู้ตายมีคู่สมรส ครั้งหนึ่งก็ต้องแบ่งให้คู่สมรสออกไปก่อน จากนั้นอีกครึ่งหนึ่งจึงนำมาแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรม
แบ่งมรดกให้ทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
ซึ่งทายาทโดยธรรมที่ได้รับแบ่งมรดกมีทั้งหมด 6 ลำดับ และอย่าลืมว่าหากเจ้ามรดกผู้ตายมีคู่สมรส คู่สมรสก็เป็นหนึ่งในทายาทโดยธรรมนั้นด้วย ซึ่งหลักการแบ่งมรดกก็ต้อง ว่ากันไปตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย
หน้าที่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมบัญชีทรัพย์สิน จากนั้นทำการแบ่งปันทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายให้กับทายาท ที่มีสิทธิ์รับมรดก ผู้จัดการมรดกเป็นบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย
ผู้จัดการมรดก รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือ ทายาทตามพินัยกรรม ทำบัญชีทรัพย์มรดก ทำการชำระ หนี้สิน ให้แก่เจ้าหนี้ ของเจ้ามรดก และ การจัดการและแบ่งมรดกจะต้องมีการทำรายการแสดงบัญชี จัดการอะไรก็ตามในกองมรดกนั้นต้อง เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่มาดก จะทำนิติกรรมหรือทำอะไรที่ ทำให้กองมรดกเสียหายไม่ได้
จะเห็นได้ว่าเรื่องมรดกเป็นเรื่องใหญ่ถ้าจัดการไม่ดีหรือไม่ยุติธรรมจะทำให้ทายาทที่ได้รับมรดกมีการทะเลาะเบาะแว้งและผิดใจกัน การจัดการมรดกจึงต้องทำอย่างยุติธรรมและตรงตามเจตนาขอผู้เสียชีวิตในกรณีที่ทำพินัยกรรมไว้
คงเข้าใจมากขึ้นแล้วนะว่า ผู้จัดการมรดก คือใคร และเข้ามาทำอะไร ครั้งหนึ่งในชีวิตเราคงได้รับมรดกจากผู้มีพระคุณ จึงควรทราบเอาไว้บ้าง