ลูกเป็นหนี้ ยึดทรัพย์พ่อแม่

ลูกเป็นหนี้แล้วจะไปยึดทรัพย์พ่อแม่ ได้ไหมมาหาคำตอบกัน

ตามกฎหมายแล้วในการเกิดหนี้มี 2 แบบก็คือ นิติกรรมและนิติเหตุ สำหรับนิติกรรมเช่นการทำสัญญากู้ยืมเงิน การทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ การทำสัญญาจำนองบ้านหรือที่ดิน เมื่อคู่กรณีมีการผิดสัญญาจึงทำให้มีหนี้เกิดขึ้น จึงต้องชำระหนี้นั้น

ยกตัวอย่างเช่น ลูกหนี้กู้ยืมเงิน กับเจ้าหนี้ ต่อมาลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระคืนเงินกู้ตามกำหนด ลูกหนี้เป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดี

เมื่อคดีดำเนินไปถึงศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้จึงจะทำการยึดทรัพย์ การยึดทรัพย์นี้ยึดทรัพย์ได้แต่ของคู่สัญญาคือลูกหนี้เท่านั้น ไม่สามารถยึดทรัพย์พ่อแม่ได้ เพราะเขาไม่ใช่คู่สัญญาของลูกหนี้นั่นเอง

ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นพ่อแม่ก็ตาม จริงอยู่พ่อแม่อาจมีทรัพย์สมบัติแต่ ณ เวลานี้พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นทรัพย์สมบัติต่างๆ จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ไม่ใช่ของลูก (ซึ่งพ่อแม่อาจทำพินัยกรรม ยกให้คนอื่นที่ไม่ใช่ลูกของตัวเองก็ได้)

แต่หากเมื่อวันใดพ่อแม่เสียชีวิตลง ทรัพย์สินสมบัติต่างๆก็จะเป็นกองมรดกตกสู่ทายาท เมื่อนั้นตัวลูกหรือบุตรจะต้อง ถูกยึดทรัพย์ได้ ในกองทรัพย์มรดกนั้น แต่การยึดทรัพย์จะยึดได้ไม่ เกินมรดกที่ตัวบุตรได้รับมา ยกตัวอย่างเช่น ตัวลูก เป็นหนี้เรา 1 ล้านบาท แต่ได้รับมรดกจากพ่อแม่มา 300,000 บาท เราจะยึดทรัพย์ได้ แค่ไม่เกินจำนวนกองมรดกคือ 300,000 บาท

หวังว่าคงได้คำตอบว่าลูกเป็นหนี้ยึดทรัพย์พ่อแม่ได้ไหม ยึดทรัพย์พ่อแม่ไม่ได้ นี่คือคำตอบ ยกเว้นแต่พ่อแม่ตายไป และทรัพย์นั้นเป็นกองมรดกตกสู่ลูก ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม