หลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม นั้นมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 4 บุตรบุญธรรม
มาตรา 1598/19 บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี
มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย
มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง
ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้หรือไม่ให้ความยินยอมและการไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งก็ได้
กฎเกณฑ์ การรับบุตรบุญธรรม |
---|
1. บุคคลที่จะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมได้ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี |
2. โดยสำหรับผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมอายุ ไม่ต่ำกว่า 15 ปีผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย |
3. สำหรับผู้เยาว์ ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของตนเองด้วย |
รับบุตรบุญธรรมแล้วได้อะไร
บุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกตกทอดของพ่อหรือแม่บุญธรรม หรือไม่นะ แล้วเขารับบุตรบุญธรรมไปเพื่ออะไร
ปกติแล้วการรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
การเลิกรับบุตรบุญธรรม
การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะมีผลก็ต่อเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่นเดียวกัน
บุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อแม่บุญธรรม
ตามกฎหมายที่เขียนในเบื้องต้น จะเห็นว่าบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อแม่บุญธรรม แต่ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อนพ่อแม่บุญธรรม ก็จะไม่ได้รับอะไรเลยจากบุตรบุญธรรม
การจดบุตรบุญธรรมจึงมีแต่คุณสำหรับผู้เป็นบุตรบุญธรรม
บทความเกี่ยวข้อง

การฟ้องหย่าฝ่ายเดียว โดยเหตุแห่งการฟ้องหย่า 10 ประการ


