ปลอมเอกสารราชการ
ในการปลอมเอกสาร จะยอมความได้หรือไม่ มีทางออกทางแก้ไขยังไงกัน ฐานความผิดนี้มันมีอยู่หลายแบบ บ้างก็เป็นเอกสารเอกชน บ้างก็เป็นเอกสารราชการ ซึ่งแต่ละอย่างก็มีข้อหาแตกต่างกันออกไป การปลอมเอกสารเป็นข้อหาทางคดีอาญา ต้องมีการประกันตัวด้วย
กรอกข้อมูล & ติดต่อ Nitilaw
Click กรอกข้อมูล และติดต่อ
ไลน์ คุยกับ Nitilaw ทนายความ
แอดไลน์ คุยกับทนาย
ปลอมเอกสาร ฟังก่อน ยอมความ !!!
ตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
หมวด 3 | ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร |
---|---|
ม.264 | ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ว2. ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน | |
ม.265 | ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท |
ม.266 | ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้ |
(1) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ | |
(2) พินัยกรรม | |
(3) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ | |
(4) ตั๋วเงิน หรือ | |
(5) บัตรเงินฝาก | |
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท |
มาดูตามกฎหมายจะเห็นได้ว่าความผิดตามกรณีนี้มีทั้ง การปลอมเอกสารทั่วไปและการปลอมเอกสารราชการ ซึ่งแต่ละข้อหาก็มีบทลงโทษแตกต่างกันออกไปตามที่ตัวบทกฎหมายแสดงมาให้เราดู เช่นตามมาตรา 264 ปลอมเอกสารโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท
แต่ถ้าตามมาตรา 265 ปลอมเอกสารสิทธิ์หรือเอกสารราชการโทษจำคุก 6 เดือนถึง 5 ปีและปรับตั้งแต่ 1,000 ถึง 10,000 บาท ส่วนมาตรา 266 เป็นการปลอมเอกสารกรณีพิเศษ มีโทษจำคุก 1 ปีถึง 10 ปี ถือว่ามีโทษมากที่สุดในบรรดา 3 มาตรานี้
ดังนั้นจะผิดในข้อหาอะไรถึงต้องมาวิเคราะห์ในข้อเท็จจริงเสียก่อน ว่ามันคืออะไรกัน ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษตามกฎหมายได้
ตามมาตรา 264 เอกสารปลอม หมายความว่าเอกสารที่ทำขึ้นโดยบุคคลผู้ไม่มีอำนาจ ไม่ว่าข้อความในเอกสารจะจริงหรือเท็จก็ตาม
จะเห็นได้ว่าปลอมเอกสาร มีหลายอย่าง (เรียกชื่อให้ถูกต้อง คือ”ปลอมเอกสาร” ไม่ใช่ “ปลอมแปลงเอกสาร”)
เมื่อข้อหานี้เป็นข้อหาทางอาญา จึงอาจต้องมีการประกันตัวเกิดขึ้น ถ้าหากเจ้าพนักงานให้ดำเนินการประกัน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบว่าใช้หลักทรัพย์ประกันเท่าไหร่ ซึ่งในกรณีที่โจทก์ฟ้องต่อศาลจะต้องประกันตัวในวันนัดสอบคำให้การ
ส่วนในกรณีที่เจ้าทุกข์แจ้งความกับพนักงานตำรวจ และตำรวจมีการออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหา มารับทราบข้อกล่าวหา และพนักงานสอบสวนทำสำนวนส่ง อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี ถ้าเป็นการประกันตัวในชั้นศาลก็ประกันตัวในวันที่ อัยการรยื่นฟ้องต่อศาล
กรอกข้อมูล & ติดต่อ Nitilaw
Click กรอกข้อมูล และติดต่อ
แต่กรณีที่ตำรวจออกหมายเรียกครั้งที่ 2 แล้ว ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาเข้าพบตำรวจตามนัดหมาย ท่านอาจถูกออกหมายจับ เมื่อจับตัวได้ก็จะต้องประกันตัวในชั้นโรงพักด้วย อันเป็นการทำให้ท่านสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม
ติดต่อถามเรื่อง >>> เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว
ปลอมเอกสาร ยอมความได้หรือไม่ ทางออก ทางแก้ไข
คดีปลอมเอกสารหรือปลอมเอกสารสิทธิ์ เป็นอาญาแผ่นดินอันไม่อาจยอมความได้ !!! ดังนั้นเมื่อปีมีคดีเกิดขึ้นจึงต้องดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลจะพิพากษาลงโทษ หนักเบาแค่ไหนประการใด ก็ต้องไปดูว่ามีฐานความผิดอะไรในเรื่องปลอมเอกสาร
กรอกข้อมูล ส่งเรื่องให้เรา
* ข้อมูลทุกอย่างถูกเก็บเป็นความลับ เรานำมาใช้เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา ในทางคดีให้กับท่านเท่านั้น
* โปรดแอดไลน์หาเราที่ id: @vmw5257c เพื่อจะได้ไม่พลาดการติดต่อ
บทความเกี่ยวข้อง

โทษทางอาญา

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาคดีเช็ค

คดีอาญาลักทรัพย์ ลักทรัพย์นายจ้าง
