คดีอาญา ลักทรัพย์

ตามประมวลกฎหมายอาญาในคดีลักทรัพย์ และ คดีลักทรัพย์นายจ้าง อายุความกี่ปี ไกล่เกลี่ยได้ไหม  ยอมความได้ไหม

เลขมาตราป.อาญา เกี่ยวกับ คดีอาญาลักทรัพย์
ม.334ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
_
ม.335ลักทรัพย์ เหตุฉกรรจ์
(1) ในเวลากลางคืน
(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใดๆ
(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือ สาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ
(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น

 

คดีลักทรัพย์นายจ้าง เป็นลักทรัพย์เหตุฉกรรจ์

ตามมาตรา 335 (11) ที่เป็นของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง

ซึ่งในเมื่อต้นเหตุแห่งการกระทำความผิดเป็นการลักทรัพย์ แต่เป็นการลักทรัพย์ของนายจ้าง ดังนั้นจึงเป็นการลักทรัพย์ในเหตุฉกรรจ์มีบทลงโทษหนักกว่าธรรมดา

โดยความสัมพันธ์ของผู้ลักทรัพย์ กับผู้เสียหายต้องเป็นลักษณะที่ผู้ลักทรัพย์ คือลูกจ้าง และผู้ที่เสียหายก็คือนายจ้าง

 

คดีลักทรัพย์ เป็นอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้

คดีลักทรัพย์ เป็นอาญาแผ่นดินซึ่งไม่อาจยอมความได้ จะไกล่เกลี่ยไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นเมื่อท่านถูกดำเนินคดีหรือตกเป็นจำเลยในคดีนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีต่อไป ตามระบบกระบวนการของกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

 

แต่ใดๆก็แล้วแต่ หากท่านได้ไกล่เกลี่ยคุย บรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ผู้เสียหายพอสมควร หรือบรรเทาความเสียหายให้กับผู้เสียหายไปจะหมดแล้ว เช่น ท่านลักทรัพย์ จากโจทก์มามูลค่า 300,000 บาท และท่านก็ได้บรรเทาความเสียหายให้โจทก์ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างนี้อาจจะทำให้ศาลท่านเห็นใจ และอาจจะรอลงอาญาท่านก็ได้ (เป็นดุลพินิจของศาล อันมิอาจก้าวล่วง) โดยต้องให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้แถลง

 

ดังนั้นเมื่อท่านถูกฟ้องในคดีอาญาลักทรัพย์ ไปแล้ว ส่วนที่เหลือจึงต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์ให้ดีที่สุด เพื่อให้เป็นผลดีกับตัวท่านและต่อผู้เสียหายด้วย แม้การไกล่เกลี่ยได้ แต่อาจไม่ได้ช่วยอะไรมากก็ตาม

หากต้องการ หลักทรัพย์ Click >>> หลักทรัพย์ประกันผู้ต้องหา

คดีลักทรัพย์ อาจจะ รอลงอาญา

ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากเราได้บรรเทาความเสียหาย ให้กับโจทก์ไปบ้างแล้วพอสมควร หรือบรรเทาความเสียหายไปทั้งหมด อาจเป็นเหตุให้ศาลท่านรอลงอาญาก็ได้ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปนะเพราะเราไม่ใช่ผู้พิพากษา ซึ่งเรื่องที่ว่าศาลจะพิพากษาลงโทษเท่าไหร่ มันเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาอันมิอาจก้าวล่วง

 

การลักทรัพย์ ต้องมีเจตนาโดยทุจริต

ในความผิดข้อหาลักทรัพย์ ผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาโดยทุจริต ถ้าหากขาดเจตนาโดยทุจริตไป จะทำให้ไม่ครบองค์ประกอบความผิดในฐานความผิดลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา

ดังนั้นในตอนเขียนบรรยายคำฟ้อง สำหรับข้อหาลักทรัพย์ จึงต้องมีการบรรยายว่า เจตนาโดยทุจริต ด้วย ซึ่งเจตนาเป็นเรื่องที่สำคัญมากในทางอาญา จำเลยต้องกระทำการขณะรู้สำนึกผิดชอบชั่วดี

นี่แหละคดีอาญาลักทรัพย์ และคดีลักทรัพย์นายจ้าง ซึ่งเป็นเหตุฉกรรจ์ของ คดีลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา

>>> ศาลตัดสินแล้ว ประกันตัวได้ไหม

คดีลักทรัพย์ ตามป.อาญา อายุความกี่ปี

ตามมาตรา 334 ลักทรัพย์ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

มาตรา 335 (11) ลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี

ดังนั้น ตาม ป.อาญา มาตรา 95
(3) มีอายุความสิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

 

คดีอาญาลักทรัพย์ หรือลักทรัพย์นายจ้างมีอายุความ 10 ปี และเป็นอาญาแผ่นดินไม่สามารถไกล่เกลี่ยหรือยอมความกันได้ ถ้ามีการแจ้งความร้องทุกข์แล้วจะต้องมีการดำเนินคดีต่อไปตามขั้นตอน ทางกฎหมาย

>>>  ปรึกษาทนายฟรี 24 ชั่วโมง