จดทะเบียนรับรองบุตร

จดทะเบียน รับรองบุตร

วันนี้มาว่าด้วย การจดทะเบียนรับรองบุตร ทำไมต้องจดทะเบียน กันด้วย
ตามปกติบุตรที่เกิดมานั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ (บุตรออกมาจากท้องมารดา จึงไม่มีข้อแก้ตัวว่าไม่ใช่บุตรของมารดา)
แต่สำหรับบิดายังไม่แน่ว่าบุตรนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา และขณะที่บุตรเกิดมานั้น บิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เอาไว้

ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจมีการมาร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ก็ต้องมีพยานหลักฐานต่างๆว่าเออนะ บุตรคนนี้เป็นบุตรของบิดา เพื่อบิดาจะได้จดทะเบียนรับรองบุตร ขอให้บุตร เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา

ซึ่งเมื่อจดทะเบียนรับรองบุตร ก็จะเป็นบุตรของบิดาแล้วก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายตามมาแน่นอน ทั้งต่อบุตรและต่อบิดา เช่น ในเรื่องการเลี้ยงดู ในเรื่องอำนาจปกครอง ในเรื่องการรับมรดก เมื่อบิดาถึงแก่ความตาย

ในกรณีที่ได้รับความยินยอมจากมารดาและเด็ก บิดาสามารถยื่นจดทะเบียนเพื่อรับรองบุตร ที่สำนักงานทะเบียนเขตหรือสำนักงานทะเบียนอำเภอ

แต่ในกรณีที่ เด็กหรือมารดาไม่ได้ให้ความยินยอมหรือยังว่าผู้ที่จะมาจดทะเบียนไม่ใช่บิดา ในกรณีนี้ต้องมีคำ พิพากษาของศาลมาใช้ก่อน แล้วจากนั้นจึงใช้คำพิพากษาของศาลมาจดทะเบียนรับรองบุตร แทนการแสดงเจตนาของมารดาและบุตร

 

จดทะเบียนรับรองบุตรเป็นคนละเรื่องกับการรับบุตรบุญธรรม

การรับบุตรบุญธรรมเป็นการที่บุคคลคนหนึ่งต้องการรับบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งมีอายุน้อยกว่ามาเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อให้มีสิทธิ์และหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งบุตรบุญธรรมก็ไม่เหมือนกับบุตรทางสายเลือด เสียทีเดียว ย่อมมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง

ผลของการ รับรองบุตร

บุตรถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดานับแต่วันที่เด็กเกิด ซึ่งเป็นผลย้อนหลัง หากบิดาเสียชีวิตลง บุตรนั้นมีสิทธิ์ได้รับมรดกตกทอดจากบิดาในฐานะทายาทโดยธรรม

เห็นว่าเมื่อ จดทะเบียนรับรองบุตร เรียบร้อยแล้ว สิทธิ์และหน้าที่ต่างๆย่อมเปลี่ยนไปตามกฎหมาย เพราะว่ามีกฎหมายเขียนเอาไว้นั่นเอง

 

เมื่อจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วจะมี สิทธิ์และหน้าที่ทั้งทางเรื่องของบุตรและของบิดาตามมา ตามกฎหมาย


 

บทความ: รวมทั้งหมดคดีอาญาคดีแพ่งศาลเป็นจำเลยกฎหมายทั่วไป