ประนอมหนี้ที่ศาล แล้วไม่จ่าย

ประนอมหนี้ที่ศาล แล้วไม่จ่าย หากท่าน ไปประนอมหนี้ หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาล แล้วไม่ยอมจ่ายตามข้อตกลง จะมีอะไรติดตามมาอีก

สำหรับในคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีต่อศาลในเขตอำนาจศาลโดยสามารถยื่นฟ้องในสถานที่มูลคดีเกิดหรือตามภูมิลำเนาจำเลย

ต่อมาคดีก็จะนัดไกล่เกลี่ย เพื่อประสงค์ให้โจทก์กับจำเลยได้พูดคุยไกล่เกลี่ยกันได้ หากสามารถตกลงกันได้ก็จะดี

หากคุยไม่ได้ในคดีแพ่งสามัญทั่วไปก็จะนัดชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท แล้วจากนั้นก็นัดสืบพยานต่อไป

เมื่อ วันสืบพยานมีการสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลย จากนั้นศาลก็จะมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี หรือได้ยอดหนี้ตามฟ้องหรือไม่อย่างไร หรือศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์

ที่นี้ในเรื่องการไกล่เกลี่ย หากโจทก์จำเลยสามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือ ทำการประนอมหนี้ที่ศาลได้ก็เป็นสิ่งที่ดี โดยในสัญญานี้อาจจะมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์กี่บาท และตกลงใช้หนี้ภายในกี่เดือน เดือนละกี่บาท ทุกอย่างจะเขียนไว้ชัดเจน และมีการลงชื่อทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย

ซึ่งในสัญญานี้แล้วจะระบุชัดเจนว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ปฏิบัติตามการประนอมหนี้ที่ศาล โจทก์จะทำการยึดอายัดทรัพย์ของจำเลยเพื่อทำการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ต่อไป

หวังว่าคงได้คำตอบว่าประนอมหนี้ที่ศาลแล้วไม่จ่ายจะเกิดอะไรขึ้น นั่นคือโจทก์ยึดอายัดทรัพย์ของจำเลย ออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาใช้หนี้โจทก์โดยดำเนินการผ่านทางเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำแนะนำของเราคือหากมีการประนอมหนี้ที่ศาลแล้วควรจะมีความรับผิดชอบ ในฝ่ายจำเลยควรจะจ่ายตามข้อตกลงหากมีอาการติดขัดประการใดก็โทรไปคุยกับโจทก์เพื่อแสดงความจริงใจและปฏิบัติให้ได้ตามสัญญานั้นจะดีกว่า

เพราะสุดท้ายแล้วผลเสียก็เกิดขึ้นกับจำเลยอยู่นั่นเอง และการประนอมหนี้ที่ศาลหรือการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นสุดยอดแห่งความยุติธรรมไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้และคดีถือว่าเป็นที่สุด