ยักยอกทรัพย์ ประกันตัวเท่าไหร่

ในเรื่อง คดียักยอกทรัพย์ ประกันตัว เท่าไร วงเงินที่ต้องใช้ เรามาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องและองค์ประกอบความผิดที่สำคัญก่อน

ตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ว.2 ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง

ติดต่อทนาย Add Line: @vmw5257c หรือ โทร : 081 189 5861

ความหมายตาม มาตรา 352

ในเรื่อง ความผิดฐานยักยอกทรัพย์  ทรัพย์นั้นต้องอยู่ในความครอบครอง ของผู้จะกระทำความผิดอยู่แล้ว (ซึ่งไม่เหมือนกับข้อหาลักทรัพย์ ทรัพย์ที่จะลักนั้นไม่ได้อยู่ในความครอบครองของผู้ที่จะกระทำความผิด) นี่คือความแตกต่างและผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาโดยทุจริตด้วย (ถ้าไม่มีเจตนาทุจริตก็ไม่ผิด ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนมากความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ทางอาญาจะต้องมีเจตนาทุจริตเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก)

 

ประกันตัว ยักยอกทรัพย์เท่าไหร่??

ในเรื่องเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ใช้ การประกันตัวข้อหายักยอก ใช้ประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป(เงินสด) ส่วนหลักทรัพย์อื่น สอบถามอีกทีว่าใช้เท่าไหร่

ให้ทำการสอบถามกับเจ้าหน้าที่ที่ทำการประกันตัวอีกทีว่าใช้กี่บาทโดยสอบถามที่ช่อง 1 ประชาสัมพันธ์ของศาลที่รับฟ้องคดีไว้จะได้รู้ว่า ใช้เป็นโฉนดที่ดินกี่บาท หรือใช้เงินสดกี่บาท ท่านเองจะได้เตรียมการหาเงิน เตรียมเอกสารต่างๆได้ถูกต้อง  ในเรื่อง ประกันตัว จะได้ไร้ปัญหา และประสบผลสำเร็จ อันเป็นผลดีต่อตัวผู้ต้องหาเอง

 

ต่อจากเรื่องประกันตัวก็จะมาเป็นเรื่องคดีความ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะให้การสารภาพหรือปฏิเสธ ในทางคดีอาญาสามารถยื่นคำให้การสารภาพหรือปฏิเสธได้เลย โดยไม่ต้องมีเหตุผลประกอบ (โดยปกติในการยื่นคำให้การปฏิเสธจะต้องมีเหตุผลประกอบ สำหรับในคดีแพ่ง) แต่ท่านควรรู้ข้อเท็จจริงของท่านเองว่าไปทำอะไรมา

อะไรที่ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์

ยกตัวอย่างในบางกรณีที่อาจจะไม่ใช่คดียักยอกทรัพย์หรือไม่มีความผิดในฐานยักยอกทรัพย์(เบื้องต้นเท่านั้นต้องดูข้อเท็จจริงอีกที)
– ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต แต่อาจเป็นการเข้าใจผิดคิดว่าทรัพย์นั้นเป็นของตนจึงหยิบไป
– ผู้ต้องหาแย่งทั้งกรรมสิทธิ์และการครอบครอง แบบนี้เป็นลักทรัพย์ไม่ใช่คดียักยอกทรัพย์
– ผู้ต้องหาเช่ารถยนต์ไปจากผู้ให้เช่าโดยมีกำหนดคืน แต่ยังไม่ถึงวันกำหนดคืนตามสัญญา ความผิดยักยอกยังไม่เกิด จนเมื่อถึงกำหนดคืนตามสัญญาแล้วไม่ยอมคืนรถยนต์ที่เช่าไปนั้น ความผิดยักยอกเกิดตอนนั้น (แย่งกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ได้แย่งการครอบครองเพราะรถยนต์อยู่ในมือของผู้เช่าแล้ว)
– การที่ท่านเจอกระเป๋าสตางค์ตกหล่นอยู่บนรถเมล์และท่านเก็บเอาไปเป็นของตนเอง โดยที่เจ้าของเดิมเมื่อรู้ว่ากระเป๋าสตางค์ตนเองหาย ก็ได้พยายามติดตามทรัพย์สินของตนเองมาตลอด แบบนี้ไม่เป็นยักยอกทรัพย์เพราะว่าเจ้าของเดิมยังไม่ขาดการครอบครองนั่นเอง

คดียักยอกทรัพย์ เป็นอาญาอันยอมความได้

 

เมื่อจำเลยและโจทก์ผู้เสียหายมีการพูดคุยเจรจาตกลงและจำเลยได้บรรเทาความเสียหายให้กับโจทก์จนเป็นที่พอใจ โจทก์สามารถถอนฟ้องหรือถอนแจ้งความหรือถอนคำร้องทุกข์ได้ มีผลทำให้คดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ระงับไป คดีถึงที่สุดไม่สามารถฟ้องกันใหม่ได้อีกต่อไป ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็จะเป็นผลดี ต่อทั้งตัวโจทก์และจำเลยทำให้คดีในข้อหายักยอกทรัพย์นี้ถึงที่สุด แต่จำเลยก็ต้องมีความรับผิดชอบ จ่ายเงินให้ครบตามจำนวนที่ตกลงกัน

 

จำเลยประหยัดค่าใช้จ่าย นำเงินส่วนประกันตัวไปจ่ายความเสียหายให้กับโจทก์ แบบนี้ดีกว่า และเมื่อโจทก์ถอนฟ้องข้อหายักยอกทรัพย์ ดังที่กล่าวไปแล้วเมื่อได้รับบรรเทาความเสียหายจนเป็นที่พอใจ ทำให้คดีสิ้นสุดไปจากศาล ทำให้ประหยัดในทุกอย่างตั้งเวลา ทั้งเงินทอง ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ทำงานจบได้ไว แต่ในความเป็นจริงมันก็มีปัญหารออยู่ หากมูลค่าความเสียหายมันเยอะตัวจำเลยเองไม่สามารถบรรเทาความเสียหายให้โจทก์ได้จนเป็นที่พอใจ อย่างนั้นก็คงต้องดำเนินคดีในข้อหายักยอกทรัพย์ต่อไป ตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งหลายๆครั้งโจทก์ก็ต้องการแค่ได้ทรัพย์สินหรือความเสียหายของตนเองคืน ไม่ได้อยากให้จำเลยติดคุก

 

แต่ถ้าโจทก์จำเลยสามารถตกลงกันได้ก็จะเป็นผลดี จำเลยสามารถนำเวลาและพลังจิตใจไปหาเงินหรือทำมาหากินทางอื่น ดีกว่าขึ้นศาลในข้อหายักยอกทรัพย์  และจะได้ไม่ต้องมาหาข้อมูลอีกด้วยว่าคดียักยอกทรัพย์ ประกันตัวเท่าไหร่ 

 

>>>  nitilaw.com ปรึกษากฎหมาย

 

 

 

 


 

บทความ: รวมทั้งหมดคดีอาญาคดีแพ่งศาลเป็นจำเลยกฎหมายทั่วไป