ทราบไหมว่า คดีแพ่งมีอายุความกี่ปี เรามาคุยกันเรื่องอายุความในคดีแพ่ง
สำหรับอายุความคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 อายุความนั้นถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนด 10 ปี
หมายความว่าในคดีแพ่งถ้าไม่ได้ ระบุว่าอย่างอื่นก็ใช้อายุความ 10 ปี
แต่ มันจะมีเรื่องต่างๆเกี่ยวข้องหลายอย่าง
เช่น มาตรา 193/32 สิทธิ์เรียกร้อง ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ มีอายุความ 10 ปี
ฝากข้อความ&ติดต่อ Nitilaw
Click หาเรา
อายุความ ทางแพ่ง 5 ปี
มาตรา 193/33 สิทธิ์เรียกร้อง ดังต่อไปนี้มีอายุความ 5 ปี ได้แก่ ดอกเบี้ยค้างชำระ เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 193/34(6) เงินค้างจ่ายคือเงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น
อายุความ ทางแพ่ง 2 ปี
หรือตามมาตรา 193/34 มีอายุความ 2 ปี ซึ่งได้แก่ สิทธิ์เรียกร้องดังนี้คือ ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบค่าการงานที่ได้ทำหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นรวมทั้งเงินที่ให้ออกทดลองไป ผู้ขนส่งโดยสารหรือสิ่งของหรือรับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ทดรองออกไป ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ครูหรืออาจารย์เรียกเอาค่าสอน ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสถาปัตยกรรมผู้สอบบัญชีหรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ทดรองออกไป
หรือถ้าตามมาตรา 193/35 การทำหนังสือรับสภาพหนี้มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิดหรือให้ประกัน
อายุความแพ่งกี่ปี ต้องดูรายละเอียด
จากที่เห็นเบื้องต้น การที่จะรู้ว่าคดีแพ่งมีอายุความกี่ปี ตอบไม่ได้เลยในทันที ต้องดูภายในรายละเอียดในแต่ละคดี คดีแพ่งแต่ละคดี มีอายุความแตกต่างกันออกไป เช่น 2 ปี 5 ปี 10 ปี เป็นต้น ต้องสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจน ก่อนที่จะมาวิเคราะห์เรื่องอายุความ ในคดีแพ่ง
ความชัดเจนในการตอบคำถาม ข้อเท็จจริงที่ได้มาเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เพื่อนำมาวิเคราะห์จะได้รู้ว่าแต่ละคดี มีอายุความเท่าไหร่ หากเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพียงนิดเดียวอายุความก็จะเปลี่ยนไปตามกฎหมาย ที่ระบุไว้
ผลของอายุความแพ่ง
ผลของการนำคดีขาดอายุความมาฟ้อง ในทางแพ่งนั้น โจทก์สามารถฟ้องคดีได้ แต่จำเลยก็สามารถอ้างได้เช่นกันว่า คดีทางแพ่งนั้นขาดอายุความแล้ว โดยเป็นเรื่องที่จำเลยต้องกล่าวอ้างเอง ศาลไม่อาจยกขึ้นอ้างได้ แต่ใดๆก็แล้วแต่ แม้ว่าคดีจะขาดอายุความแต่ในความเป็นจริง หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์นั้นยังคงมีอยู่ ตราบใดที่ยังไม่ได้ชำระหนี้
กรอกข้อมูล ส่งเรื่องให้เรา
* ข้อมูลทุกอย่างถูกเก็บเป็นความลับ เรานำมาใช้เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา ในทางคดีให้กับท่านเท่านั้น