หมายศาลคดีแพ่ง

ในกรณีที่ได้รับหมายศาลคดีแพ่ง ให้เราทำการตรวจสอบว่า

– เป็นหมายศาลเกี่ยวกับอะไร

– หมายศาลนัดให้ไปทำอะไร วันไหน เวลาใดเช้าหรือบ่าย

– ถ้าเป็นหมายศาลแจ้งให้ไปไกล่เกลี่ย เกี่ยวกับการชำระหนี้บัตรเครดิต ก็สมควรทำตามนั้น เพื่อไปเจรจาไกล่เกลี่ยตกลง

– ยอดหนี้ที่เราเป็นหนี้ หากเราไม่ไปตามหมายศาลที่เราได้รับแล้ว เราอาจต้องรับผิดในยอดหนี้บัตรเครดิตตามที่ถูกโจทก์ฟ้องมาเต็มจำนวน เป็นผลเสียกับตัวเราเอง เพราะตัวเลขยอดหนี้ที่แจ้งมาอย่างไรเราควรเข้าไปพูดคุยเจรจาต่อรองว่า อะไรมันมากเกินไปขอผ่อนขอลด  หากถึงที่สุดแล้วเราไม่ไปเจรจาต่อรองหรือไม่ใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้ ท่านอาจถูกบังคับคดีได้ เช่น การถูกยึดทรัพย์ หรือการถูกอายัดเงินเดือน 30%สำหรับในคดีแพ่งนั้นไม่มีโทษจำคุก ไม่เหมือนคดีอาญา ซึ่งมีโทษจำคุก

คดีแพ่งเกี่ยวกับอะไร

ส่วนมากคดีแพ่งมักจะเป็นคดีเกี่ยวกับเรื่องเงินทองหรือการชดใช้ค่าเสียหาย เช่น คดีละเมิดท่านไปทำทรัพย์สินของคนอื่นเสียหาย แบบนี้ก็จะฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อให้ท่านชดใช้ค่าเสียหายบรรเทาความเดือดร้อนให้กับโจทก์ผู้เสียหายนั้น ต่างกับคดีอาญา เพราะคดีอาญามุ่งเน้นการเอาตัวผู้กระทำความผิดนั้นมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้

ได้รับหมายคดีแพ่ง แล้วทำไงต่อ

– หาทนายสิครับ รอไรล่ะ ปรึกษาทนายก่อนเลย เพราะท่านต้องยื่นคำให้การภาย 15 วัน(รับหมาย) หรือ 30 วัน(กรณีปิดหมาย) [สำหรับคดีแพ่งสามัญ]

– แต่สำหรับคดีผู้บริโภค เช่น คดีบัตรเครดิต เราจะไปทำการไกล่เกลี่ย/ให้การ/สืบพยาน ในวันเดียวนั้นเลย และสามารถให้การด้วยวาจาได้ ไม่ต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วันหรือ 30 วันเหมือนคดีแพ่งสามัญก็ได้ ซึ่งระบบระเบียบมันแตกต่างกัน เพื่อความแน่ใจปรึกษาทนายดีสุด

* หากท่านไม่ดำเนินการตามกำหนด ท่านก็จะเป็นจำเลยผู้ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งเป็นผลเสียกับตัวท่านมากๆ

คดีแพ่งมีหลายข้อหา

ตัวอย่างคดีแพ่ง เช่น ผิดสัญญาซื้อขาย ผิดสัญญาจ้างทำของ ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาจำนอง ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผิดสัญญากู้ยืมเงิน ฟ้องให้ทำผิดอันเกิดจากการทำละเมิด(เช่น ไปทำทรัพย์สินคนอื่นเสียหาย ทำให้คนอื่นบาดเจ็บจนต้องมีการรักษาพยาบาล ขับรถยนต์ไปชนรถคนอื่นโดยที่เราประมาทและเป็นผู้ผิด) เป็นต้น

คำให้การทางแพ่ง

ดังที่กล่าวเบื้องต้นเมื่อได้รับหมายศาลในคดีแพ่ง จำเลยจะต้องรีบทำคำให้การโดยเฉพาะคดีแพ่งสามัญ ดังที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น แต่ในคดีแพ่งการให้การปฏิเสธจะต้องมีเหตุผลประกอบด้วยเสมอ และต้องมีพยานหลักฐาน ก็เตรียมเอาไว้ในวันสืบพยานด้วย ไม่ใช่ให้การปฏิเสธไปเรื่อยโดยไม่มีเหตุผลหรือพยานหลักฐาน อย่างนั้นเป็นปฏิเสธลอย ศาลไม่อาจรับฟังได้

การกำหนดประเด็นข้อพิพาท

สำหรับข้อปฏิเสธใดที่ศาลท่านรับฟังได้ ก็จะนำมากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทได้ ซึ่งก็คือสิ่งที่ระหว่างโจทก์และจำเลยยังตกลงกันไม่ได้จึงต้องนำมาให้ศาลเป็นพิจารณาและพิพากษาตามประเด็นข้อพิพาทนั้น
ซึ่งหากประเด็นใดตามฟ้องที่มันจบไปแล้วหรือไม่มีประเด็นก็จะไม่นำมาพิจารณา การพิพากษาจะพิจารณาตามประเด็นข้อพิพาทที่ยังตกลงกันไม่ได้เท่านั้น

ต้องการคำแนะนำทางกฎหมายเมื่อมี หมายศาลคดีแพ่ง มาถึงท่าน



 

บทความ: รวมทั้งหมดคดีอาญาคดีแพ่งศาลเป็นจำเลยกฎหมายทั่วไป