ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถของบุคคล
มาตรา ป.พ.พ. | ข้อความ |
---|---|
มาตรา 32 | บุคคลใดมี [1]กายพิการ{ตาบอด หูหนวก อัมพฤก} หรือ [2]มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือ [3]ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือ [4]ติดสุรายาเมา หรือ[5]มีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ ก็ได้ |
ว2. บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ ตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ | |
ว3. ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองในบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์โดยอนุโลม | |
. | |
มาตรา 28 | บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้ |
ว2. บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ | |
ว3. คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
คนเสมือนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ และการจะตกเป็นคนเช่นว่านี้ได้ ต้องเป็นคนที่ระบุไว้ตามมาตรา 28 ร้องขอต่อศาล เมื่อศาลมีคำสั่ง จากนั้นจึงจะดำเนินการต่อไป ในเรื่องว่าด้วยคนเสมือนไร้ความสามารถ
ความต่างของคนไร้ความสามารถกับคนเสมือนไร้ความสามารถ
มันมีความแตกต่างตั้งแต่เหตุ แห่งการเกิด ซึ่งเมื่อบุคคลตามมาตรา 28 ร้องขอต่อศาลศาลจะสั่งให้บุคคลที่ถูกร้องขอนั้นจะเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ขึ้นอยู่แต่เหตุปัจจัยตามจริง ซึ่งมันมีความแตกต่างทางกฎหมาย นั่นคือ
คนไร้ความสามารถผู้ดูแลคือ ผู้อนุบาล
คนเสมือนไร้ความสามารถผู้ดูแลคือ ผู้พิทักษ์
ในการกระทำการอะไรก็ตาม คนไร้ความสามารถไม่สามารถกระทำการใดๆได้เลยต้องให้ผู้แทนเป็นผู้กระทำการแทน
ฝากข้อความ&ติดต่อ Nitilaw
Click หาเรา
แต่สำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถยังสามารถกระทำการบางอย่างได้ แต่สำหรับการกระทำการในเรื่องสำคัญตาม ปพพ.มาตรา 34 จำนวน 11 อนุมาตราได้แก่
- นำทรัพย์สินไปลงทุน
- รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน
- กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน
- รับประกันโดยประการใดใดอันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
- เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนหรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี
- ให้โดยเสน่หาเว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปเพื่อการกุศล การสังคมหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
- รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
- ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือในสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
- ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือซ่อมแซมอย่างใหญ่
- เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆเว้นแต่การร้องขอตามมาตรา 35 หรือการร้องขอถอนผู้พิทักษ์
- ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ดูแลคือผู้พิทักษ์ เสียก่อน
คนวิกลจริต
คนวิกลจริต สามารถทำนิติกรรมได้ไหม หากในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นจริตนั้นไม่วิกล คนวิกลจริตนั้นสามารถทำนิติกรรมนั้นได้ ไปหากว่าคนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ จะไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆได้เลย ดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั่นเอง
ดูนิติกรรมให้ดีว่าอะไรที่ทำได้ไม่ได้
คนไร้ ,คนเสมือนไร้ ,คนวิกลจริต ดูเงื่อนไขดีๆ นิติกรรมที่คนเหล่านี้สามารถทำได้ หรือทำไม่ได้เลย หรือทำได้แต่โดยต้องอาศัยความยินยอมของผู้แทน
อำนาจของผู้แทน ดูแลนิติกรรมได้ถึงไหน ขอบเขตการดูแล สำหรับคนแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป ก่อนทำนิติกรรม ใดกับกลุ่มคนเหล่านี้ จึงต้องตรวจสอบให้ดี เพราะฉะนั้นนิติกรรมที่ทำไป อาจจะเป็นโมฆียะ
การตรวจสอบสถานะของคู่สัญญา ก่อนการกระทำนิติกรรมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนิติกรรมที่ทำไปอาจใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุต่างๆดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ได้ หามีเรื่องฟ้องร้องคดีก็จะทำให้เสียเปรียบ ถ้าคู่สัญญาเรายังไม่มีอำนาจในการทำสัญญา เรียกว่าแพ้ตั้งแต่ต้นทาง เลยทีเดียว
บทความ: รวมทั้งหมดคดีอาญาคดีแพ่งศาลเป็นจำเลยกฎหมายทั่วไป