ในเรื่องปรึกษาคดียักยอกทรัพย์ ว่าพอจะมีทางออกไหม ยอมความกันได้ไหม
ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษเพียงกึ่งหนึ่ง
แปลความหมายยักยอก
การยักยอกทรัพย์ หมายความว่าทรัพย์ที่จะยักยอกนั้น อยู่ในการครอบครองของผู้กระทำผิด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมามีการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต สำคัญมากคือต้องมีเจตนาโดยทุจริต ถ้าไม่มีเจตนาจะไม่เข้ามาผิดฐานนี้
ทรัพย์ที่ยักยอก เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือบางทีก็เป็นทรัพย์ของนายจ้าง แบบนี้เป็นต้น
ยักยอกทรัพย์ ยอมความได้หรือไม่ มีทางออกไหม
คดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว หรือเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ภายในบังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้นั้น ถ้าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ =>หมายความว่ามีเวลาแค่ 3 เดือน เท่านั้น ในการร้องทุกข์ และเมื่ออยู่ภายใต้มาตรา 95(3) จึงมีอายุความ 10 ปีนับจากเกิดเหตุ [ความผิดฐานยักยอกโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี]
และนี่จึงเป็นทางออกสำหรับข้อหายักยอกทรัพย์ ผู้ที่หลงกระทำผิดทางอาญาฐานนี้ไปแล้ว พยายามพูดคุยกับเจ้าทุกข์ และบรรเทาความเสียหายจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าทุกข์หรือโจทก์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น โจทก์สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ (เป็นสิทธิ์ของโจทก์จะถอนหรือไม่ถอนก็ได้)
กรณีใดบ้างที่เป็นการยักยอกทรัพย์
เช่น เรายืมรถเพื่อนมาขับแล้ว มีเจตนาไม่ยอมคืน เบียดบังทรัพย์คือรถยนต์ของเพื่อนเอามาเป็นของเรา แต่ถ้าเราไม่มีเจตนาก็ไม่มีความผิดฐานยักยอก ดังนั้นการเจตนากระทำความผิดในความผิดฐานนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากต้องมีเจตนา
การจะมาวินิจฉัยว่าเข้าข้อหายักยอกหรือไม่จึงต้องดูข้อเท็จจริงให้ชัดเจน แม้ตัวจำเลยกระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว ต่อมามีการตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับโจทก์ ซึ่งทั้งคู่สามารถตกลงยอมความกันได้
ถ้าเป็น >>> คดีลักทรัพย์
บทลงโทษข้อหายักยอกทรัพย์
กฎหมายอาญา มาตรา 352 ตอนท้ายเขียนไว้ชัดเจน "ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" แต่ในความเป็นจริงศาลจะลงโทษเท่าไหร่ ไม่ทราบ เพราะผู้เขียนไม่ใช่ศาล ไม่ใช่คนพิพากษา จึงไม่ทราบ
ทางแก้ไข กรณียักยอกทรัพย์
1.ในชั้นตำรวจ เมื่อได้รับหมายเรียก ให้ไปตามหมายเรียกเพื่อพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รับทราบข้อกล่าวหา
2.ถ้าคุยกับผู้เสียหายได้ เพื่อจะตกลงบรรเทาความเสียหาย ให้คุยและทำตามนั้น
3.คดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้
4.ถ้าได้รับหมายเรียก แล้วไม่ไปตามหมายเรียก 2 ครั้งตำรวจจะทำการออกหมายจับ
5.เมื่อถูกจับตามหมายจับ จะต้องมีการประกันตัวเกิดขึ้น ทำให้ท่านสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น
6.กรณีถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลแล้ว การแก้ไข ไปคุยกันในชั้นศาลก็ได้เพื่อบรรเทาความเสียหายให้กับโจทก์
>>> ไลน์ปรึกษาทนาย 24 ชม. หาทางออก แก้ไข คดียักยอกทรัพย์ กดโทรที่นี่!! : 081 189 5861
กรุณาโทรปรึกษา เวลา 08.00 ถึง 20.30 น. ทุกวัน
แต่หากต้องการเกี่ยวกับการ เช่าหลักทรัพย์ เข้าไปดูที่ https://nitilaw.com/เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว/ ได้ครับ สอบถามได้