เมื่อศาลมีคำพิพากษา และขอคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตาม แต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ปฏิบัติตาม เจ้าหนี้จะทำการร้องขอต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดี ทำการยึดอายัดทรัพย์ของท่านขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป
เมื่อมีหมายบังคับคดีส่งมาถึงขั้นเพื่อจะทำการยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ถ้าท่านไม่อยากให้ทรัพย์ของท่านขายทอดตลาดก็ให้รีบคุยกับเจ้าหนี้หรือคุยกับทางกรมบังคับคดี เพื่อลองหาแนวทางหาเงินมาชำระหนี้แทน โดยการอาจชำระเป็นก้อนหรือผ่อนก็ได้ แต่อยู่ที่เจ้าหนี้เขาจะยอมคุยกับเราด้วยหรือไม่ เพราะคุยกันมานานแล้วจนถึงขั้นนี้ ซึ่งการคุยในขั้นตอนนี้เพื่อให้ทุเลาการบังคับคดีนั้น บอกเลยไม่ง่าย
สำหรับทรัพย์สินที่ยึด อายัดได้นั้นมันไม่ใช่ว่าจะยึดอายัดทรัพย์ได้ทุกอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ทรัพย์สินที่อายัดไม่ได้ก็เช่น ของใช้ส่วนตัว อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เงินเดือนเงินสงเคราะห์ไม่เกิน 20,000 บาท เดือนเงินบำเหน็จบำนาญ ทรัพย์ที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย รถยนต์ที่ติดไฟแนนซ์
แต่สำหรับทรัพย์ที่สามารถ ยึดอายัดได้ก็เป็นทรัพย์สิน เช่น อสังหาริมทรัพย์บ้านที่ดินจะจำนองอยู่หรือไม่ไม่มีปัญหา รถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเราแล้ว และไม่ใช่เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ เช่น รถเร่ขายผลไม้ ขายกับข้าว อย่างนั้นยึดไม่ได้ สำหรับเงินเดือนจะยึดได้ต้อง รายได้เกินกว่า 20,000 บาทต่อเดือนและยึดอายัดได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะจะต้องเหลือเงินไว้ให้ลูกหนี้ได้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย เงินในบัญชีธนาคารสามารถยึดอายัดได้ หุ้นต่างๆก็ได้ ถ้ากรณีขายทอดตลาดแล้ว เงินที่ได้มาไม่พอใช้หนี้ เจ้าหนี้ยังสามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดได้ แต่ถ้าได้เกินเขาก็จะคืนเงินกลับมาให้ลูกหนี้
จะเห็นว่าแม้ถูกบังคับคดีขายทอดตลาดก็อาจจะยังมีทางแก้อยู่หากท่านสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ได้ แต่ใดๆก็แล้วแต่ ถึงในขั้นตอนนั้นแล้วท่านค่อนข้างที่จะเสียเปรียบเพราะอยู่ที่ความเมตตาของเจ้าหนี้เป็นหลักเขาจะสามารถ ทำการบังคับคดีได้เลยทันทีหรือ ยอมให้เราผ่อนชำระหนี้ต่อไป