คดีทำร้ายร่างกาย ประกันตัว

ทำร้ายร่างกาย ประกันตัว

ในเรื่องเกี่ยวกับ คดีทำร้ายร่างกาย ประกันตัว เท่าไหร่ มีอายุความกี่ปี สามารถยอมความได้ไหม ถามแค่นี้มันแคบเกินไป ต้องถามต่อว่าแล้วคู่กรณีบาดเจ็บแค่ไหน บาดเจ็บธรรมดาหรือบาดเจ็บสาหัส ถ้าหากทำร้ายร่างกายจนถึงบาดเจ็บสาหัส หรือเป็นเหตุฉกรรจ์ของการทำร้ายร่างกาย การประกันตัวย่อมไม่เท่ากันเป็นแน่แท้ โดยหลักเกณฑ์การคิดก็มีมาตรฐานตามประมวลกฎหมายอาญา

ฝากข้อความ&ติดต่อทนาย
Click หาเรา

ตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
อันตรายสาหัสนั้น คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน

 

และในเรื่องกฎหมายอาญานั้นต้องดูอีกด้วยว่าผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย มีอายุไม่เกิน 15 ปีหรือ เป็นผู้มีอายุ 15-18 ปี หรือมีอายุ 18 ถึง 20 ปี อีกด้วย

 

ประเด็นหลักที่จะต้องวิเคราะห์ เป็นการทำร้ายเข้าบทกฎหมายเหตุฉกรรจ์หรือไม่ โดยวิเคราะห์จากอาการบาดเจ็บต่างๆของร่างกาย หากเข้าเหตุฉกรรจ์ ก็จะมีเงื่อนไขการประกันแตกต่างออกไปดังที่เสนอไปแล้ว

ดังนั้นถูกตั้งข้อหาอะไร ให้อ่านให้ดีให้ชัดเจน ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนอื่นต่อไป เพราะว่ามันมีผลต่อการเตรียมตัวและมีผลต่อการหาหลักทรัพย์ของท่าน ซึ่งต้องใช้เวลา

 

ทำร้ายร่างกาย ยอมความได้ไหม

เนื่องจากข้อหาทำร้ายร่างกายเป็นอาญาแผ่นดิน แม้จะมีการยอมความกันแต่ก็ไม่ได้มีผลที่ทำให้คดีอาญาระงับ ยังคงต้องดำเนินคดีต่อไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ก็คือขึ้นศาลฟ้องคดีต่อไปนั่นเอง

 

อายุความและโทษ ข้อหาทำร้ายร่างกาย

เนื่องจากข้อหา ทำร้ายร่างกายเป็นอาญาแผ่นดินดังที่กล่าวมาแล้วจึงตกอยู่ภายใต้บังคับของ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95

1.ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 สำหรับการทำร้ายร่างกายธรรมดา ที่ทำให้เกิดบาดเจ็บนิดหน่อย ไม่ถึงขั้นฟกช้ำดำเขียว หรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ เป็นความผิดลหุโทษ ตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท อายุความตามมาตรา 95(5) มีอายุความหนึ่งปี

2.ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 การทำร้ายจนถึงขึ้นบาดเจ็บแก่กาย มีการฟกช้ำดำเขียว เป็นการเจตนาทำร้าย ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บทางกายและจิตใจ มีบทลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท อายุความตามมาตรา 95(3) สิบปี

3.ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ทำร้ายร่างกาย อาการบาดเจ็บถึงขั้นสาหัส(ดูรายละเอียดอาการสาหัส ตามกฎหมาย)มีบทลงโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท อายุความตามมาตรา 95(2) สิบห้าปี

แต่หากมีเหตุเกิดขึ้นก็ควรจะรีบแจ้งความหรือฟ้องร้องดำเนินคดีเพราะ การที่ปล่อยให้เวลาเนิ่นนานผ่านไปข้อเสียหายก็คือ 1 ทำให้อายุความหมดลงและสิ่งที่สำคัญคือพยานหลักฐานต่างๆทั้งตัวบุคคลก็อาจจะล้มหายตายจากหรือหาตัวยาก เพื่อจะนำมาเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล

 


 

บทความ: รวมทั้งหมดคดีอาญาคดีแพ่งศาลเป็นจำเลยกฎหมายทั่วไป