หมายศาล

ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับหมายศาล

เมื่อได้รับหมายศาลอย่าเพิ่งตกอกตกใจ ให้เปิดดูว่ามันเกี่ยวกับอะไร เพราะว่ามันมีได้หลายรูปแบบเช่น

1.ท่านอาจได้รับหมายศาล ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา
2.อาจได้รับหมายศาลให้ไปเป็นพยานในคดีใดชนิดหนึ่ง
3.หรืออาจได้รับหมายศาลให้ท่านมีหน้าที่ส่งข้อมูลพยานเอกสารพยานวัตถุ
4.อาจเป็นหมายศาลยึด หรือ อายัดทรัพย์ ของท่าน

เมื่อได้รับหมายศาลก็ให้เปิดอ่านดูว่ามันคืออะไร เช่น

– หากเป็นหมายศาลคดีแพ่งสามัญทั่วไปท่านจะได้ หมายเรียกคดีแพ่งสามัญ กับ สำเนาคำฟ้อง ซึ่งในหมาย จะให้ท่านทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหมายหรือถือว่าได้รับหมายนี้

– หากเป็นคดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องตรงต่อศาล ท่านจะได้รับหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้อง ซึ่งในหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องจะบอกวันที่ท่านต้องไป ทำการไต่สวนมูลฟ้อง

– หรือบางกรณีเป็นหมายศาลยึดทรัพย์ ท่านก็ต้องถือว่าทรัพย์ที่โดนยึดนั้นเกี่ยวข้องทางคดีความอะไรกับท่าน หรือท่านมีคดีความอะไรมาก่อน เขาจึงมายึดหรืออายัดครับท่าน

ใดๆก็แล้วแต่หากมีข้อสงสัยประการใดให้ติดต่อทนายความที่ท่านไว้ใจและรู้จัก เพื่อปรึกษา หาทางแก้ไขทางคดีความ อย่านิ่งเฉย เนื่องจากไม่เป็นผลดีกับตัวท่านมีแต่ผลเสีย

หมายศาลคดีแพ่งสามัญ

ยกตัวอย่างเช่น ท่านได้รับหมายศาลในคดีแพ่งสามัญทั่วไป ซึ่งท่านต้องทำคำให้การสารภาพหรือปฏิเสธยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหมายศาลนั้น หากท่านไม่ทำก็จะมีผลทางคดีความต่อท่าน โจทก์สามารถยื่นขอชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ หมายความว่าท่าน(จำเลย) ไม่มีโอกาสได้ต่อสู้ ในคดีนี้นั่นเอง ไม่สามารถแก้ตัวอะไรได้อีกแล้ว เพราะสิทธิ์ในการยื่นคำให้การใน 15 วัน นับจากวันที่ท่านได้รับหมายเรียกคดีแพ่งสามัญ หมดไปแล้ว

แต่ปัญหาก็ยังพอมีทางแก้ไข อันนั้นให้ปรึกษาทนายความของท่านเลย


 

บทความ: รวมทั้งหมดคดีอาญาคดีแพ่งศาลเป็นจำเลยกฎหมายทั่วไป